HOME

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Geometry glossary

conjector - An educated guess about what will always be true.
converse - The statement formed by interchanging the hypothesis and conclution of a conditional statement.
counterexample - An example use to show that a given general statement is not always true
contrapositive - The statement formed by negating both the the hypothesis and conclution of a conditional statement.
deductive resonning - A system of reasoning used to reach conclusions that must be true whenever the assumptions on which the reasoning is based are true.
inductive resonning - 1. Reasoning from detailed facts to general principles
inverse - the denial of statement
Law of Detachment - If p -> q is a true conditional and p is true , then q is true
Law of Syllogism - If p -> q and q -> r are true conditional , then p -> r is also true.
negation - the denial of statement
proof - A logical argument showing that the truth of hypothesis guarantees the truth of the conclution.
hypothesis - In a conditional statement, the statement that immediately follows the word if.
conjector -- การคาดเดาเกี่ยวกับสิ่งที่จะเป็นจริง
converse -- คำสั่งที่เกิดขึ้นจากการสลับส่วนสมมติและ บทสรุป ของข้อความ
counterexample -- ตัวอย่างที่ใช้เพื่อแสดงให้เห็นว่า
ข้อความที่กล่าวไม่เป็นจริงเสมอไป
contrapositive -- คำสั่งที่เกิดขึ้นจาก ปฏิเสธ ทั้งสมมติฐานและ ผลสรุป ของ
ข้อความ
resonning deductive -- ระบบการให้เหตุผลใช้ในการเข้าถึงข้อสรุปที่ต้องเป็นจริงเมื่อใดก็ตามที่สมมติฐานที่มีเหตุผลเป็นไปตามเป็นจริง

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โครงสร้างวิชาคณิตศาสตร์

โครงสร้างของวิชาคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย

1. อนิยาม หมายถึง คำที่มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวเองเป็นคำที่ทุกคนสามารถเข่ใจตรงกันว่าหมายถึงสิ่งใด และสามารถใช้สื่อสารได้โดยไม่จำเป็นต้องอธิบายหรือใช้คำจำกัดความ หากพยามอธิบายหรือให้คำจำกัดความในคำนั้นๆ ว่าหมายถึงสิ่งใด ก็จะพบกับปัญหาในการอธิบายหรือสื่อสารให้เกิดความเข้าใจตรงกัน เช่น จุด เส้นตรง ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น

2. นิยาม หมายถึงคำที่มีการอธิบายหรือให้คำจำกัดความไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทุกคนทราบความหมายอย่างถูกต้องและมีความเข้าใจในสิ่งนั้นตรงกัน เช่น

มุมฉาก หมายถึง มุมที่มีขนาด 90 องศา

รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หมายถึง รูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านเท่ากันทั้งสี่ด้านและมีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก

3. สัจพจน์ หมายถึง ข้อความที่ทุกคนยอมรับว่าข้อความนั้นเป็นจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์ ซึ่งข้อความนั้นอาจจะเป็นจริงโดยธรรมชาติเช่นดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก เป็นต้น

4. ทฤษฎี หมายถึง ข้อความที่ทุกคนยอมรับว่าข้อความนั้นเป็นจริง โดยมีการพิสูจน์ข้อความนั้นอย่างมีเหตุผล มีระบบทางคณิตศาสตร์อย่างชัดเจน โดยอาศัย อนิยาม นิยาม และสัจพจน์ เช่นผลบวกของมุมภายในของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับ 180 องศา เป็นต้น

การพิสูจน์ทางตรรกศาสตร์ เป็นการพิสูจน์การให้เหตุผลโดยใช้ภาษาแสดงเหตุผล ซึ่งภาษาที่ใช้เขียนเป็นข้อกำหนด หรือข้อสมมติที่ตั้งขึ้น หรือเป็นข้อสนับสนุน เรียกว่า เหตุ สำหรับภาษาที่ใช้เขียนเป็นข้อสรุปหรือผลลัพธ์ที่ได้จากการกระทำ หรือเป็นข้อความความที่ถูกสนับสนุน เรียกว่า ผล ซึ่งผลที่ได้จากการพิสูจน์ทางตรรกศาสตร์หรือการให้เหตุผล มี 2 ลักษณะ คือ สมเหตุสมผล กับ ไม่สมเหตุสมผล

มนุษย์รู้จักใช้การให้เหตุผล เพื่อสนับสนุนความเชื่อหรือเพื่อหาความจริง หรือข้อสรุปในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาแต่ครั้งโบราณ ในการสร้างความรู้ใหม่ต้องอาศัยสมมติฐานบางอย่าง โดยที่สมมติฐานนี้อาจจะได้มาจากการสังเกตจาปรากฎการณ์ธรรมชาติ หรือประเพณีวัฒนธรรมที่ปฏิบัติติดต่อกันมาตลอดจนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

ซึ่งสมมติฐานดังกล่าวสามารถจำแนกได้อย่างกว้าง ๆ 2 ลักษณะ คือ

1. สมมติฐานกรณีทั่วไป (เหตุใหญ่) เช่น

- พลเมืองของประเทศไทยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปจะมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง

- จำนวนเต็มคู่ทุกจำนวนต้องหารด้วย 2 ลงตัว

- เมื่อโยนวัตถุขึ้นไปในอากาศ วัตถุนั้นจะตกลงสุพื้นโลกเสมอ

2. สมมติฐานกรณีเฉพาะ (เหตุย่อย)

- นายสุเทพมีอายุ 19 ปี มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง

- 8 หารด้วย 2 ลงตัว

- โดยก้อนหินขึ้นไปในอากาศก้อนหินจะตกลงสู่พื้นโลก

เมื่อมีการกำหนดสมมติฐานขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นแบบใดและจะมีกี่สมมติฐาน เราถือว่าสมมติฐานดังกล่าวเป็นเหตุ นำสมมติฐานหรือเหตุดังกล่าวมาแจกแจงสดงความสัมพันธ์ถึงความต่อเนื่องเกี่ยวโยงกันจนทำให้เกิดความรู้หรือปรากฏการณ์ใหม่ขึ้นมา ซึ่งเราเรียกว่า ผลหรือผลสรุป

การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่สำคัญมีอยู่ 2 วิธี ได้แก่

1. การให้เหตุผลแบบอุปนัย (Inductive Reasoning)

การให้เหตุผลแบบอุปนัย (Inductive Reasoning) เกิดจากการที่มีสมมติฐานกรณีเฉพาะ หรือเหตุย่อยหลายๆ เหตุ เหตุย่อยแต่ละเหตุเป็นอิสระจากกัน มีความสำคัญเท่าๆ กัน และเหตุทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีเหตุใดเหตุหนึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นสมมติฐานกรณีทั่วไป หรือกล่าวได้ว่า การให้เหตุผลแบบอุปนัยคือการนำเหตุย่อยๆ แต่ละเหตุมารวมกัน เพื่อนำไปสู่ผลสรุปเป็นกรณีทั่วไป เช่น

การให้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive Reasoning)
การให้เหตุผลแบบนิรนัยเกิดจากการมีสมมติฐานทั่วไปและตามด้วยสมมติฐานเฉพาะย่อยๆ ไปเรื่อยๆ ความสัมพันธ์ระหว่างสมมติฐานทั่วไป และสมมติฐานเฉพาะจะก่อให้เกิดผลสรุปเฉพาะ โดยต้องยอมรับว่าสมมติฐานทุกสมมติฐานเป็นข้อความที่เป็นจริง เพื่อหาเหตุผลนำไปสู่ข้อสรุป
ตัวอย่างการให้เหตุผลแบบนิรนัย

1. เหตุ 1) จำนวนคู่หมายถึงจำนวนที่หารด้วย 2 ลงตัว 2. เหตุ 1) คนทุกคนต้องตาย
2) 10 หารด้วย 2 ลงตัว 2) นายวิชาเป็นคน
ผล
10 เป็นจำนวนคู่ ผล นายวิชาต้องตาย
วงรี:  สมเหตุสมผล วงรี:  สมเหตุสมผล

3. เหตุ 1) นักกีฬากลางแจ้งทุกคนจะต้องมีสุขภาพดี 4. เหตุ 1) นกทุกตัวบินได้
2) เกียรติศักดิ์เป็นนักฟุตบอลทีมชาติไทย 2) ค้างคาวเป็นนก
ผล
เกียรติศักดิ์มีสุขภาพดี ผล ค้างคาวบินได้
วงรี:  สมเหตุสมผล วงรี:  สมเหตุสมผล

จากตัวอย่างการยอมรับความรู้พื้นฐานหรือความจริงบางอย่างก่อน แล้วจึงหาข้อสรุปจากสิ่งที่ยอมรับแล้วนั้น ซึ่งจะเรียกว่า ผล การสรุปจะถูกต้องก็ต่อเมื่อเป็นการสรุปผลได้อย่างสมเหตุสมผล (valid) เช่น

เหตุ 1) เรือทุกลำลอยน้ำได้
2) ถังน้ำพลาสติก ลอยน้ำได้
ผล ถังน้ำพลาสติกเป็นเรือ

วงรี:

การสรุปผลจากข้างต้นไม่สมเหตุสมผล แม้ว่าข้ออ้างหรือเหตุทั้งสองข้อจะเป็นจริง แต่การที่เราทราบว่าเรือทุกลำลอยน้ำ
ได้ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งอื่นๆ ที่ลอยน้ำได้จะต้องเป็นเรือเสมอไป ข้อสรุปดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการสรุปไม่สมเหตุสมผล

ข้อสังเกต การให้เหตุผลแบบนิรนัยนั้น ผลหรือข้อสรุปจะถูกต้องก็ต่อเมื่อ
1) ยอมรับว่าเหตุเป็นจริงทุกข้อ
2) การสรุปผลสมเหตุสมผล

ตัวอย่างการให้เหตุผล

1. เหตุ 1) นายธนาคารทุกคนเป็นคนรวย
2) นายอภิศักดิ์ เป็นนายธนาคาร
ผล
นายอภิศักดิ์ เป็นคนรวย


โลกเรามีวิธีสร้างความรู้ใหม่สองอย่าง

วิธี แรกเรียกว่า Deductive reasoning วิธีนี้คือการตรวจดูภาพรวมทั้งหมดจนแน่ใจว่าถูกต้องทุกๆ กรณีจึงสรุปว่าเป็นจริงเสมอและเกิดเป็นความรู้ใหม่ วิธีนี้ให้ความแน่นอนสูง แต่ในโลกของความเป็นจริงทำได้ยาก เพราะถ้ามัวแต่รอให้ข้อมูลครบ บางทีก็เป็นอันไม่ต้องทำอะไรกันพอดี ความรู้ใหม่ในโลกนี้ส่วนใหญ่แล้วจึงไม่ ได้เกิดจาก Deductive reasoning

วิธีที่สอง เรียกว่า Inductive reasoning คือ การตรวจสอบแค่บางส่วนของทั้งหมด เช่น การสุ่มตัวอย่าง ถ้าจำนวนตัวอย่างที่ตรวจสอบมีมากพอก็สรุปไปเลยว่าเป็นจริงทุกกรณีและเกิด เป็นความรู้ใหม่ วิธีนี้ทำได้ง่ายและเร็วกว่าวิธีแรกมาก ความรู้ใหม่ในโลก นี้ส่วนใหญ่จึงเกิดจาก Inductive reasoning ทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น เซอร์ไอแซค นิวตัน ศึกษาการเคลื่อนที่ของลูกแอ๊ปเปิ้ล แล้วนำมาสรุปเป็นกฏการเคลื่อนที่ของวัตถุทุกชิ้นในเอกภพ

แม้ ว่า Inductive reasoning จะใช้ประโยชน์ได้มากกว่า แต่วิธีนี้ก็มีจุดอันตรายอยู่ เพราะการตรวจสอบแค่ส่วนหนึ่งแต่เหมารวมเป็นความจริงทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ถ้าตั้งแต่เกิดมาคุณเคยเห็นแกะมาทั้งหมด 120 ตัว ทุกตัวเป็นสีขาว คุณอาจสรุปด้วยวิธี inductive reasoning ว่า แกะทั้งโลกนี้ (นับล้านๆ ตัว) เป็นสีขาวทุกตัว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าในโลกนี้มีแกะแค่หนึ่งหรือสองตัวที่เป็นสีดำแต่บังเอิญคุณไม่เคย เห็น ความรู้ใหม่ของคุณก็เป็นความรู้ที่ผิดทันที การสร้างความรู้ใหม่ด้วย วิธี Inductive reasoning แม้จะใช้การได้ดีแต่ก็เสี่ยงที่จะผิดพลาดในลักษณะนี้ได้เสมอ

การ จะสรุปว่าตลาดหุ้นเป็นอย่างไรนั้น ถ้าเราสรุปจากประสบการณ์ที่เราอยู่ในตลาดหุ้นมาแค่ไม่กี่ปี แล้วคิดว่านั่นคือภาพทั้งหมดของตลาดหุ้น ก็ไม่ต่างอะไรกับการเห็นแกะไม่กี่ตัวแล้ว สรุปว่าแกะทั้งหมดเป็นสีขาว ตลาดหุ้นนั้นเป็นอะไรที่ถ้าคุณต้องการจะรู้จัก ตัวตนที่แท้จริงของมัน อาจต้องใช้เวลาอยู่กับมันมากกว่าค่อนชีวิตของคุณเลยทีเดียว ถ้าคุณเข้าตลาด หุ้นมาแค่สองสามปีแล้วพบว่ามันให้ผลตอบแทนที่ดีมากมาตลอดก็อย่าเพิ่งรีบด่วน สรุปว่าตลาดหุ้นคือพี่ใหญ่ใจดี ผู้จัดการที่คุณเห็นว่าเป็นคนสุภาพเรียบร้อย สองสามวันพอถึงคืนเดือนมืดก็ยัง "เปลี๋ยนไป๋" เป็นมนุษย์หมาป่าที่ดุร้ายแบบหน้ามือเป็นหลังมือได้เฉยเลย

เช่น นี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่บางครั้งคุณได้ฟังหลักการลงทุนของคนที่อยู่ในตลาด มานานถึง 60 ปี อย่างเช่น วอเรน บัฟเฟต แล้วคุณจะรู้สึกว่าหลักการแบบนั้นไม่น่าจะเวิร์ค เพราะคนที่อยู่ในตลาดหุ้นมานานไม่เท่ากัน ย่อมมีรู้จักตลาดหุ้นไม่เหมือนกัน ทำให้มีความเห็นต่างกันได้ โดยส่วนตัวแล้ว ผมพยายามฟังคำแนะนำของ วอเรน บัฟเฟต แม้ว่าบางอันผมจะรู้สึกว่ามันขัดกับประสบการณ์ส่วนตัวของผม เพราะผมเชื่อว่า ยังไงเสีย คนที่อยู่ในตลาดหุ้นมานานมากขนาดนั้นน่าจะมีมุมมองเกี่ยวกับตลาดหุ้นที่ใกล้ เคียงกับความเป็นจริงมากกว่าผมอย่างแน่นอน